เอื้องขาไก่ / -

ประวัติการค้นพบ: ถูกค้นพบครั้งแรกโดย Carl(Karl) Ludwig von Blume (1796-1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน-ดัตช์ ต่อมา Alex Drum Hawkes (1927-1977) นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน มาเปลี่ยนชื่อเป็น Flickingeria fimbriata ตีพิมพ์ที่วารสาร Orchid Weekly ในปี 1961 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลำลูกกล้วยคล้ายทรงกระบอกแคบ ตั้งตรง ปล้องด้านล่างปลายคอด ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ดอกมักออกเดี่ยวตามซอกใบ โคนใบติดกับลำลูกกล้วย ดอกสีขาวนวล มีจุดประสีชมพูอมเเดงกระจายทั่วไป กลีบเลี้ยงกางออก กลีบเลี้ยงบนรูปขอบขนานถึงรูปรี กลีบเลี้ยงข้างโคนเชื่อมติดกันยื่นยาวออกกคล้ายเดือย กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่แคบ กลีบปากสีนวล กลางกลีบมีสัน 3 สัน ขอบกลีบพลิ้ว ปลายแยกเป็นแฉกกว้าง กางออก ขอบแฉกพลิ้ว [1] นิเวศวิทยา: ดอกบานเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พบตามป่าดิบแล้ง ทางภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ [1] การกระจายพันธุ์: จีน อินเดีย เนปาล หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ มาเลเซีย ไทย ลาว เวียดนาม เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา เกาะชวา ซุลาเวซี หมู่เกาะซุนดาน้อย ฟิลิปปินส์ [2] ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: [1] หนังสือบัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพกล้วยไม้ไทย ส่วนที่ 2 https://bedolib.bedo.or.th/book/131 [2] https://www.orchidspecies.com/flickfimbriata.htm


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Flickingeria fimbriata (Blume) A.D.Hawkes

ชื่อท้องถิ่น = -